อนุพันธ์ของกรดอีลาจิก (Ellagic acid derivative) ชนิดใหม่ จากใบและกิ่งของกระบก Irvingia malayana

ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีทรัพยากรทั้งบนบก ในแม่น้ำ และในทะเล ภูมิประเทศอุดมไปด้วยพรรณไม้และสิ่งมีชีวิตนานาชนิด รวมไปถึงจุลชีพ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีศักยภาพที่จะนำมาค้นหาองค์ประกอบทางเคมี ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ อาหารเสริม เครื่องสำอาง วัสดุทางการแพทย์ และ ที่สำคัญที่สุดคือ ยารักษาโรค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากในเชิงเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านสาธรารณสุขของประเทศ ดังนั้น การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย ล้วนมีความสำคัญ เพื่อค้นหาทรัพยากรชนิดใหม่ๆ ที่อาจยังไม่มีการค้นพบมาก่อน ซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบทางเคมีชนิดใหม่ๆ ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีขึ้น หรือ ทดแทนยาที่เริ่มมีปัญหาเรื่องการดื้อยาของโรคต่างๆ

 

ฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศรวมไปถึงประชาคมโลก ได้แก่ ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส (HIV, Flu เป็นต้น) ต้านวัณโรค ต้านมาลาเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ โรคของผู้สูงอายุ ได้แก่ อัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน เป็นต้น การนำสารสกัดหยาบของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นการตรวจสอบขั้นต้นว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้นๆ มีศักยภาพที่จะนำมาศึกษาต่อเพื่อทำเป็นยาสมุนไพร และ/หรือ ทำการแยกให้บริสุทธิ์เพื่อค้นหาองค์ประกอบทางเคมีที่แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพ การได้มาซึ่งโครงสร้างทางเคมีของสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจะเป็น “สารต้นแบบ” สำหรับการพัฒนาต่อไปเป็นยา

งานวิจัยนี้เป็นการแยกองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดของส่วนใบและกิ่งของพืช Irvingia malayana โดยสามารถแยกสารใหม่ได้ 1 ตัวที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอีลาจิก และสารที่เคยมีรายงานมาก่อนได้ 9 ตัว ได้แก่ 3,3¢,4¢-tri-O-methylellagic acid (2), 3,3¢-di-O-methylellagic acid-4-Ob-xyloside (3), 3,3¢,4¢-tri-O-methylellagic acid-4-bO-glucoside (4), friedelin (5), friedelinol (6), methyl-3,4,5-trihydroxybenzoate (7), 5,7,4¢-trihydroxyflavone-8-Cb-glucopyranoside (8), 5,7,3¢,4¢-tetrahydroxyflavone-8-Cb-glucopyranoside (9), and 5,3¢,4¢-trihydroxyflavone-6-Cb-glucopyranoside (10) โดยอาศัยเทคนิคทางสเปคโตรสโกปีในการยืนยันโครงสร้าง  สารที่แยกออกมาได้ ได้นำมาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สาร 4 และ สาร 7 มีฤทธิ์อ่อนในการยั้บยั้งเซลล์มะเร็ง สาร 1  2  4 และ 9 มีฤทธิ์ต้าน HIV ใน syncytium inhibition assay ส่วนสาร 8 และ มีฤทธิ์ต้าน HIV ใน HIV 1-RT assays

งานวิจัยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (Center of Excellence for Innovation in Chemistry, PERCH-CIC)  เป็นงานที่มีความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยจากภาควิชาเคมี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คูหากาญจน์ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ดร.ถาวร ใจเพ็ชรดร.ศักดิ์ชัย หงษ์ทอง และ นางสาวสำเรียง บุญเที่ยง กับ นักวิจัยจากทางภาควิชาสรีรวิทยา และ จุลชีววิทยา โดย ดร.รดีกร อัครวงศาพัฒน์ และ ทีมวิจัย รวมไปถึงเจ้าหน้าที่อาวุโสของกรมป่าไม้

A New Ellagic Acid from the Leaves and Twigs of Irvingia malayana

Thaworn Jaipetch, Sakchai Hongthong, Samreang Bunteang, Radeekorn Akkarawongsapat, Jitra Limthongkul, Chanita Napaswad, Kanoknetr Suksen, Narong Nuntasaen, Vichai Reutrakul, and Chutima Kuhakarn* Natural Product Communications May 2019, 1–7.