การตรวจสอบบทบาทกลไกและโครงสร้างของการสลายไขมันในสภาวะเสถียรภาพของ 

                 แอมโมเนียในน้ำยาง Hevea

                 Investigating the Mechanistic and Structural Role of Lipid Hydrolysis in the

                 Stabilization of Ammonia-Preserved Hevea Rubber Latex

– คณะ/สาขาวิชา : คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

– ที่มาและความสำคัญ : น้ำยางธรรมชาติจากต้นยางพันธุ์ Hevea brasiliensis มีลักษณะเป็นอนุภาคคอลลอยด์อยู่ในน้ำ โดยพื้นผิวของอนุภาคยางนั้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยชั้นผสมของโปรตีนและฟอสโฟลิปิดซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความเสถียรภาพของน้ำยาง การเก็บรักษาน้ำยางด้วยแอมโมเนียสามารถเพิ่มความเสถียรให้น้ำยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโมเลกุลของฟอสโฟลิปิดจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสกับแอมโมเนีย ทำให้เปลี่ยนเป็นเกลือของกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่สามารถช่วยรักษาสภาพน้ำยางได้ ไม่ให้เกิดการจับตัวโดยง่ายเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน

– ขอบเขต/พื้นที่การศึกษา : ความเสถียรของน้ำยางโดยใช้เวลาของความเสถียรเชิงกล (MST) และค่าความเป็นขั้ว (zeta potential) ชนิดและจำนวนของประจุลบในกลุ่มหมู่คาร์บอกซิเลตของกรดไขมันในสารรักษาสภาพยางธรรมชาติด้วยแอมโมเนียความเข้มข้นสูงและต่ำถูกใช้เป็นต้นแบบในการศึกษานี้เทียบกับน้ำยางที่ถูกกำจัดสารประกอบเอสเทอร์โดยกระบวนการสปอนนิฟิเคชัน

– วัตถุประสงค์ : การหาเวลาที่คงความเสถียรเชิงกลในน้ำยางธรรมชาติ ค่าความเป็นขั้ว จำนวนปริมาณ high fatty acid การย้อมด้วยสารเรืองแสงและการวิเคราะห์ลักษณะของอนุภาคยางด้วยกล้องจุลทรรศน์เลเซอร์สแกนแบบคอนโฟคอล (CLSM) ปริมาณเอสเทอร์ของไขมัน และปริมาณความมีขั้วของไขมัน

– แหล่งทุนสนับสนุน : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (TRG5780141) มหาวิทยาลัยมหิดล (A15/2557, MU-PD-2017-7 และ MU-PD-2018-8) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)

– หน่วยงานที่ร่วมมือ : บริษัท ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

– ระดับความร่วมมือ : ระดับนานาชาติ

– ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อเพื่อจัดทำนโยบาย/คู่มือ/หนังสือ/แนวปฏิบัติที่ดี/กฎหมาย/มาตรการ/องค์ความรู้ใหม่/ระบบติดตามการดำเนินการตามแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เป็นต้น (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) : ประโยชน์ของการรักษาน้ำยางด้วยแอมโมเนียว่าส่งผลให้เกิดการสลายตัวด้วยน้ำของฟอสโฟลิพิดเพื่อสร้างสบู่ของกรดไขมันสายโซ่ยาว สบู่ของกรดไขมันเหล่านี้ถูกคาดว่าสามารถเพิ่มความเสถียรของน้ำยางได้โดยการรักษาเสถียรภาพด้วยประจุลบ ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางธรรมชาติอย่างมาก นอกจากนี้ได้มีการสร้างแบบจำลองของยางธรรมชาติขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นงานที่จะมีผู้นำไปใช้อ้างอิงต่ออีกมากในเชิงวิชาการ (ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561)

– Weblink เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน : DOI: 10.1021/acs.langmuir.8b02321.

– รูปภาพประกอบ :

– SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : การตีพิมพ์ในวารสารเพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากงานเรื่องนี้

1. Sriring M, Nimpaiboon A, Dechnarong N, Kumarn S, Higaki Y, Kojio K, Takahara A, Ho CC, Sakdapipanich J. Pre-Vulcanization of Large and Small Natural Rubber Latex Particles: Film-Forming Behavior and Mechanical Properties. Macromol. Mater. Eng. 2019:304(9):1900283.  DOI: 10.1002/mame.201900283

2. Sriring, M., Dechnarong, N., Kumarn, S., Kojio, K., Sakdapipanich, J., Takahara, A. “Pre-Vulcanization of Large- and Small Natural Rubber Particles: Their Film Formation Behaviours, Mechanical Performance and Microstructures Revealed by Atomic Force Microscopy and Synchrotron WAXD and SAXS” The International Conference on Advanced and Applied Petroleum, Petrochemicals, and Polymers 2018 (ICAPPP2018) at Chlulalongkorn Main Auditorium and Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, December 18-20, 2018, p. 185.