ชื่อหลักสูตร  : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี  

ชื่อปริญญา   
       ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี)
       ชื่อย่อ : วท.บ. (เคมี)   

หน่วยงานรับผิดชอบ   
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2550 นี้ เริ่มใช้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์รุ่นที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 จนถึงปีการศึกษา 2557 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 นี้ ใช้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์รุ่นที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปีการศึกษา 2559 

 

สาขาวิชาเคมี

หลักสูตรพิสิฐวิธาน (Distinction Program) เน้นความเข้มข้นทางวิชาการ และการวิจัยที่ทัดเทียมกับ Honors Program ของต่างประเทศ จึงเหมาะกับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง และสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งไม่ต้องผ่านการเรียนระดับปริญญาโท หลักสูตรนี้ จัดอยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D. ซึ่งใช้เวลาเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาเอก 3-4 ปี รวมเป็น 7-8 ปี ทั้งนี้ มีนักศึกษาเข้าโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546


หลักสูตรพิสิฐวิธาน รับนักศึกษาหลักสูตรปกติ ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 เมื่อจบชั้นปีที่ 2 และรักษาระดับคะแนนเช่นนี้จนจบการศึกษา รายวิชาในหลักสูตรเน้นความลึกซึ่งของเนื้อหามากกว่าปกติ และ/หรือเป็นวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะได้ทำวิจัยอย่างเข้นข้น และได้เสนอผลงานโดยเขียนวิทยานิพนธ์ และ/หรือให้การสัมมนา ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ และเทียบโอนหน่วยกิต ในรายวิชาที่เคยเรียนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน เข้าไปในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีเวลาปฏิบัติงานวิจัยได้อย่างเต็มที่


ปัจจุบัน หลักสูตรพิสิฐวิธาน เปิดสอนในทุกสาขาที่มีการเรียนการสอนที่วิทยาเขตพญาไท


หลักเกณฑ์การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน
สาขาเคมี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาตรีสำหรับผู้มีความสามารถด้านทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เทียบเท่ากับ Honors Program ของต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า “หลักสูตรพิสิฐวิธาน” (Distinction Program) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับปริญญาตรีเกียรตินิยมที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

ในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์-พิสิฐวิธานของภาควิชาเคมีจึงมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    1. หลักการและวัตถุประสงค์
      • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้งในสาขาเอกที่ศึกษา มีพื้นฐานในการปฏิบัติงานวิจัย โดยมีทักษะใน   การศึกษา ค้นคว้าและแก้ไขปัญหาได้
      • เป็นผู้มีศักยภาพในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ
      • เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้ ความสามารถไปประกอบอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    2. โครงสร้างหลักสูตรและข้อกำหนด

      2.1 โครงสร้างหลักสูตร

      `
      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรปกติ ๑๒๕ หน่วยกิตพิสิฐวิธาน ๑๒๙ หน่วยกิต 
      1) หมวดศึกษาทั่วไป ๓๐๓๐
       มหาวิทยาลัยกำหนด ๑๖หน่วยกิต
       – กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
       – กลุ่มวิชาภาษา


       หลักสูตรกำหนด ๑๔ หน่วยกิต   
      – กลุ่มสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์   
      – กลุ่มวิชาภาษา   
      – กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์   
      – กลุ่มวิชาดนตรี กิจกรรมพลศึกษาและอื่นๆ

      ๖#

      ๕#

      ๖#

      ๕#
      #
      2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน๘๙๙๓
       – วิชาแกน    
       – วิชาบังคับ 
       – วิชาเลือก  
      ๒๙
      ๔๖
      ๑๔
      ๒๙
      ๕๔
      ๑๐
      3) หมวดวิชาเลือกเสรี
      จำนวนหน่วยกิตในแต่ละหมวดอาจต่างกันได้ และรายวิชาในกลุ่มวิชาเหล่านี้ใช้แทนกันได้ แต่รวมแล้วต้องได้ ๑๑ หน่วยกิต ถ้าจำน วนหน่วยกิตที่ลงเรียนเกิน หน่วยกิตบังคับขั้นต่ำ สามารถนำไปนับเป็นหน่วยกิตของหมวดวิชาเลือกเสรีได้

      2.2 หมวดวิชาเฉพาะ 

            1. มีรายวิชาที่ลึกซึ้งในเนื้อหาของวิชาเอกมากกว่าหลักสูตรปกติ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามี     ความสามารถที่จะศึกษาต่อใน
                ระดับบัณฑิตศึกษาโดยเฉพาะปริญญาเอก
            2. มีรายวิชาบัณฑิตศึกษาที่เปิดให้ลงทะเบียนได้ โดยจ่ายค่าละทะเบียนในอัตราของนักศึกษาปริญญาตรี รหัสวิชาในระดับ     
                บัณฑิตศึกษา ให้นักศึกษาเลือกเรียนโดยใช้รหัสเดียวกัน โดยผ่านการลงทะเบียนตามปกติ โดยให้ถือเป็นรายวิชาระดับ
                ปริญญาตรีและเมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สามารถถ่ายโอนหน่วยกิตในรายวิชาดังกล่าวได้ โดยเป็นไปตาม
                ประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องโครงการความร่วมมือการรับนักศึกษาจากหลักสูตรพิสิฐวิธาน
                ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน 2548 โดยหน่วยกิตและรายวิชาจะนำมารวมในผลการศึกษา แต่จะไม่นำมาคิดเป็น GPA
                นักศึกษาจะสามารถเรียนครบหน่วยกิตเร็วขึ้น และสามารถจบการศึกษาได้เร็วขึ้น
            3. มีรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติงานวิจัย เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ตลอดจนการแก้
                ปัญหา และรายงานผลโดยการเขียนวิทยานิพนธ์และนำเสนอผลงานในที่ประชุมคณะกรรมการหรือ ที่ประชุมวิชาการ รายวิชา
                ที่ให้นักศึกษาปฏิบัติงานวิจัยของหลักสูตรพิสิฐวิธาน ทั้งหมดจำนวน 10 หน่วยกิต ในภาคต้นเป็นวิชา SCCH 494
                Special Project (4 หน่วยกิต) และในภาคปลายเป็นวิชา SCCH499 Undergraduate Thesis (6 หน่วยกิต)

      2.3 การคัดเลือกนักศึกษาและสถานภาพในหลักสูตร

            นักศึกษาที่จะศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธานต้องเป็นผู้มีศักยภาพสูง

            1. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในปีที่จะทำการคัดเลือก (ปีที่ 2 หรือปีที่ 3 ) ไม่ต่ำกว่า 3.25
            2. เมื่อศึกษาในหลักสูตรแล้วจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมทุกภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.25 กรณีที่ได้เกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า
                3.25 จะให้กลับเข้าศึกษาในหลักสูตรปกติในภาคการศึกษาถัดไป ยกเว้นอนุกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาและ
                เห็นชอบให้ศึกษาต่อในหลักสูตร เกียรตินิยมต่ออีกไม่เกิน 1 ภาคการศึกษา เพื่อให้ได้เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25

      2.4 การประเมินผลและการจบการศึกษา

            1. ผู้ที่จบการศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธานต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ ต่ำกว่า 3.25 ในกรณีที่มีผลการศึกษาต่ำกว่า
                ที่กำหนด การให้จบการศึกษาจะให้เทียบเท่ากับการจบการศึกษาในหลักสูตรปกติ
            2. เกณฑ์การได้รับเกียรตินิยม คิดเช่นเดียวกับกับระดับเกียรตินิยมของหลักสูตรปกติ โดยเกียรตินิยมดันดับ 1 จะต้องมีคะแนน
                เฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50 และเกียรตินิยมดันดับ 2 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 แต่น้อยกว่า 3.50

  • การบริหารหลักสูตร

    3.1 คณะอนุกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาเอก มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ที่แต่งตั้งโดยภาควิชา     โดยความเห็นชอบจาก 
          คณบดีทำหน้าที่บริหารจัดการหลักสูตรดังต่อไปนี้

          1. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติและสภาวการณ์
          2. บริหารการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด
          3. คัดเลือกนักศึกษาเข้าหลักสูตร ดูแล ติดตาม ประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาในหลักสูตร
          4. รายงานผลการศึกษาของนักศึกษาในหลักสูตรต่อคณะกรรมการหลักสูตรประจำคณะ
          5. ดำเนินการตามที่คณะกรรมการหลักสูตรและ/หรือที่ประชุมกรรมการบริหารคณะฯ เห็นชอบ

    3.2 การศึกษาและ/หรือฝึกวิจัยในต่างประเทศ

          เพื่อส่งเสริมนักศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธานที่มีศักยภาพสูงหรือมีผลการ ศึกษาดีเด่น ให้มีโอกาสเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการระดับนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์จึงให้นักศึกษาได้ไปศึกษาและ/หรือฝึกทำการวิจัยในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และเรียนรู้ความก้าวหน้าและวิทยาการที่ทันสมัย ภายในระยะเวลา 3-6 เดือน โดยมีเกณฑ์สนับสนุนดังนี้

          1. เป็นนักศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธาน ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงปีที่ 3 หรือก่อนไปต่างประเทศไม่ต่ำ กว่า 3.50
          2. มีความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ รับนักศึกษา   (เช่น คะแนนสอบ
              TOEFL ชนิด paper-based testไม่ต่ำกว่า 550 หรือ computer-based test ไม่ต่ำกว่า 213 คะแนน)
          3. กรณีที่นักศึกษาได้รับการสนับสนุนให้ไปต่างประเทศ ก่อนเดินทางไปต่างประเทศจะต้องทำสัญญาว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาใน
              หลักสูตร พิสิฐวิธานแล้วจะเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท หรือเอก) ในสาขาเอกหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกบ
              สาขาที่กำลังศึกษาอยู่ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ จะยินยอมชดใช้เงินทุนทั้งหมดที่คณะวิทยาศาสตร์จ่ายไปในการสนับสนุน
              นักศึกษา ผู้นั้นไปต่างประเทศ
          4. งบประมาณสนับสนุนการศึกษา/วิจัยในต่างประเทศกำหนดให้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน ภายในระยะเวลา 3-6 เดือน
              โดยรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายประจำเดือนค่าประกันสุขภาพ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  • การสนับสนุนด้านต่างๆ

          เนื่องจากหลักสูตรพิสิฐวิธานเป็นหลักสูตรพิเศษที่จัดให้นักศึกษาที่มี ความสามารถสูงแต่อาจมีจำนวนไม่มาก จึงถึงเป็นภาระเพิ่มเติมที่ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์จะต้องปฏิบัติร่วมกัน คณะวิทยาศาสตร์จึงให้การสนับสนุนภาควิชาและคณาจารย์ ในการบริหารหลักสูตรดังนี้

    4.1 งบประมาณสำหรับภาควิชา เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการและ โครงงานวิจัยเหมา
          จ่าย 25,000 บาท/คน/ปี รวมทั้งหมดไม่เกิน 50,000 บาท/คน สามารถใช้ในการร่วมประชุมวิชาการใน/นอกประเทศ โดย
          ความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและภาควิชาฯ โดยให้เบิกจ่ายตามเกณฑ์ของระเบียบราชการ
    4.2 ค่าตอบแทนสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิจัยต่อนักศึกษา 1 คน 5,000 บาท/โครงงาน/ภาคการศึกษา (ไม่เกิน 3 ภาค
          การศึกษา)
    4.3 ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารหลักสูตร ตามประกาศคณะวิทยาศาสตร์
    4.4 การคิดภาระงานสำหรับอาจารย์ที่สอนรายวิชาเฉพาะ (ที่จัดเป็นพิเศษให้กับนักศึกษา 25,000 บาท/คน โดยไม่เป็นรายวิชาใน
          หลักสูตรปกติ) ให้คิดภาระงานเทียบเท่ากับรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา

  • อื่นๆ

    5.1 หลักสูตรปริญญาเอกที่รับนักศึกษาโครงการพิสิฐวิธาน สาขาเคมี คณิตศาสตร์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ ชีวเคมี
          ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พยาธิ-ชีววิทยา ฟิสิกส์ ฟิสิกส์เชิงเคมี เภสัชวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
          สรีรวิทยา และอื่นๆ ที่จะเปิดเพิ่มเติม
    5.2 การเรียนภาษาอังกฤษ ภาควิชาฯ สนับสนุนให้สอบ TOEFL หรือ TOEFL-ITF (บัณฑิตวิทยาลัย) และนักศึกษาควรจะเลือก
          เรียนวิชาเลือกภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา Honors program ที่เป็นลักษณะของ Academic/Scientific Writing
    5.3 การจบการศึกษา ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่สามารถเรียนจบระดับปริญญาเอกได้ นักศึกษาสามารถขอเปลี่ยนแผน
          การศึกษาเพื่อให้ศึกษาจบหลักสูตรปริญญาโทได้
    5.4 รายวิชา SCCH 490 Independent study in chemistry (วิชาเลือก) (2 หน่วยกิต x 45 = 90 ชั่วโมงต่อภาค
          การศึกษา หรือ 5 ชม/สัปดาห์)

    นักศึกษาติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษารายวิชานี้ โดยเป็นหัวข้อที่ไม่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติ และมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ โดยเป็นการค้นคว้าโดยอิสระ และเมื่อจบภาคการศึกษาจะต้องส่งรายงานการศึกษา 1 ชุด โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ให้เกรด อาจารย์ที่ปรึกษาวิชานี้ ควรเป็นคนละท่านกับ project supervisor

ขั้นตอนในการเข้าหลักสูตรพิสิฐวิธาน

  • นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ (เกรดเฉลี่ยสะสม 3.25) ต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาการทำ  วิจัยที่สอดคล้องกับความสนใจของนักศึกษา
  • ติดต่อขอรับใบสมัครเข้าเป็นนักศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธาน ที่ภาควิชาเคมี ได้ตั้งแต่เปิดภาคการศึกษาต้น ชั้นปีที่ 3 ของทุกปี
  • นักศึกษาเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อฝึกงานวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษาการทำงานวิจัยอย่างน้อย 1 ภาคการศึกาา (นักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์งานวิจัยตามที่ภาควิชากำหนด จะไม่สามารถสมัครเข้าหลักสูตรได้)
  • กรณีนักศึกษาในหลักสูตรฯ ต้องการสมัครขอรับทุนไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ จะต้องเตรียมตัวดังนี้
    • ได้เกรดเฉลี่ยสะสม มากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 พร้อมทั้งยื่นใบแสดงผลการศึกษา
    • สอบ TOEFL ให้ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 550 พร้อมทั้งยื่นเอกสารแสดงผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ
    • จดหมายหรือหลักฐานยืนยันการรับนักศึกษาเพื่อเข้าทำวิจัยจากอาจารย์ที่ปรึกษาใน สถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่อให้คณะฯพิจารณาภายในต้นเทอมปลายปี 3 เพื่อจะได้เดินทางไปทำวิจัยได้ทันในช่วงภาคฤดูร้อนของปี 3
    • เอกสารรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา (2 ท่าน)
    • รายงานความก้าวหน้าผลงานวิจัย
    • เอกสารประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมด  ได้แก่  ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ค่าที่พัก ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ  ค่าใช้จ่ายประจำวัน  และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
หลักสูตรพิสิฐวิธาน  (๑๐๑ หน่วยกิต)  เรียนเหมือนหลักสูตรปกติ ยกเว้น –  ไม่เรียนวิชา  วทคม ๓๑๑, วทคม ๓๔๒ , วทคม ๔๙๗  และเพิ่ม :- 
วทคม    ๓๑๒ (A)  เคมีวิเคราะห์ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วทคม    ๓๔๓ (A)  เคมีอนินทรีย์ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วทคม    ๔๙๔ (A)  โครงการวิจัย ๔ (๐-๑๒-๔)
วทคม    ๔๙๙  วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี ๖ (๐-๑๘-๖)
  
๒.๒  วิชาเลือกทางเคมี  (หลักสูตรปกติ ไม่น้อยกว่า  ๑๖    หน่วยกิต) 
วทคม ๓๑๕    (A)     แนวโน้มในวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๓๓๕  เคมีที่ผิวประจันและคอลลอยด์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๓๘๑ (A) คณิตศาสตร์สำหรับนักเคมี ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๑๒ (A) หัวข้อพิเศษทางเคมีวิเคราะห์ ๑ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๑๓     หัวข้อพิเศษทางเคมีวิเคราะห์ ๒ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๑๔ (A)  เคมีสิ่งแวดล้อม ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๑๕ (A)     เทคนิคเชื่อมต่อทางเคมีวิเคราะห์ ๒(๒-๐-๔)
วทคม  ๔๒๐ (A) หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๒๑ (A)     เคมีอินทรีย์เชิงฟิสิกส์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๒๒ (A)     การสังเคราะห์ทางเคมีอินทรีย์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๒๓ (A)  เคมีของสารเฮทเทโรไซคลิก ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๒๔ (A)  เคมีของสารธรรมชาติ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๒๕ (A)  เคมีชีวอินทรีย์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๒๖ (A)     กลไกปฏิกิริยาทางเคมีอินทรีย์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๓๕ (A) หัวข้อพิเศษในเคมีเชิงฟิสิกส์ ๑  ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๓๖ (A) หัวข้อพิเศษในเคมีเชิงฟิสิกส์ ๒ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม๔๓๗ (A) สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของวัสดุขั้นสูง ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๓๙ (A)  เคมีเชิงคำนวณ ๒ (๑-๓-๓)
วทคม  ๔๔๒     หัวข้อพิเศษในเคมีอนินทรีย์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๕๑     เคมีอุตสาหกรรม ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๕๒     หัวข้อพิเศษในเคมีอุตสาหกรรม ๒ (๒-๐-๔)
วทคม  ๔๖๑ เคมีวัสดุพอลิเมอร์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๖๕  เทคโนโลยีพลาสติก ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๖๖  เทคโนโลยียาง ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๗๑  วัสดุศาสตร์ขั้นแนะนำ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๗๒  เทคโนโลยีวัสดุ  ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๙๑ หัวข้อคัดสรรในเคมี ๒ (๒-๐-๔)
วทคม    ๔๙๘  โครงการวิจัยทางเคมี ๒ ๔ (๐-๑๒-๔)
  
หลักสูตรพิสิฐวิธาน  (ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต) 
ให้เลือกเรียนรายวิชาที่มีอักษร (A)  กำกับ     และเพิ่ม :- 
วทคม    ๔๙๐ (A)  การศึกษาอิสระทางเคมี ๒ (๒-๐-๔)
รวมทั้งวิชาระดับบัณฑิตศึกษาภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา 
  
๓.  หมวดวิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต) 
วทคม ๔๕๘ FE การเยี่ยมชมโรงงาน ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๒๐๗ FE อิเล็กทรอนิกส์ ๒ (๒-๐-๔)
วทพฤ ๒๘๖ FE พฤกษศาสตร์ทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ    ๔๐๒  ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ ๒ (๒-๐-๔)
ศศภอ๑๐๖  ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ    ๑๐๗  ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒-๒-๕) 
ศศภอ    ๑๐๘  ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒-๒-๕) 
สมศษ    xxx  กิจกรรมพลศึกษา ๑ (๐-๒-๑)
วศสว    ๑๐๑  ดนตรีวิจักษ์  (หรือรายวิชาทางดนตรีอื่น ๆ) ๒ (๑-๒-๓)
วทคพ    ๑๕๗  การผลิตสื่อหลายแบบ ๓ (๓-๐)
  (หรือ     วิชาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ) 
วทคมxxx  อื่น ๆ    นอกเหนือจากที่เลือกแล้วในหมวดวิชาเฉพาะ     และวิชา 
อื่น ๆ    ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย     ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของภาควิชา

ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

 ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี)
             ชื่อย่อ : วท.บ. (เคมี)   

หน่วยงานรับผิดชอบ   
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2550 นี้ เริ่มใช้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์รุ่นที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 จนถึงปีการศึกษา 2557 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 นี้ ใช้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์รุ่นที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปีการศึกษา 2559 

สาขาวิชาเคมี

หลักสูตรพิสิฐวิธาน (Distinction Program) เน้นความเข้มข้นทางวิชาการ และการวิจัยที่ทัดเทียมกับ Honors Program ของต่างประเทศ จึงเหมาะกับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง และสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งไม่ต้องผ่านการเรียนระดับปริญญาโท หลักสูตรนี้ จัดอยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D. ซึ่งใช้เวลาเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาเอก 3-4 ปี รวมเป็น 7-8 ปี ทั้งนี้ มีนักศึกษาเข้าโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546

หลักสูตรพิสิฐวิธาน รับนักศึกษาหลักสูตรปกติ ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 เมื่อจบชั้นปีที่ 2 และรักษาระดับคะแนนเช่นนี้จนจบการศึกษา รายวิชาในหลักสูตรเน้นความลึกซึ่งของเนื้อหามากกว่าปกติ และ/หรือเป็นวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะได้ทำวิจัยอย่างเข้นข้น และได้เสนอผลงานโดยเขียนวิทยานิพนธ์ และ/หรือให้การสัมมนา ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ และเทียบโอนหน่วยกิต ในรายวิชาที่เคยเรียนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน เข้าไปในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีเวลาปฏิบัติงานวิจัยได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน หลักสูตรพิสิฐวิธาน เปิดสอนในทุกสาขาที่มีการเรียนการสอนที่วิทยาเขตพญาไท

หลักเกณฑ์การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน
สาขาเคมี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาตรีสำหรับผู้มีความสามารถด้านทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เทียบเท่ากับ Honors Program ของต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า “หลักสูตรพิสิฐวิธาน” (Distinction Program) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับปริญญาตรีเกียรตินิยมที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

ในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์-พิสิฐวิธานของภาควิชาเคมีจึงมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หลักการและวัตถุประสงค์

      • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้งในสาขาเอกที่ศึกษา มีพื้นฐานในการปฏิบัติงานวิจัย โดยมีทักษะใน   การศึกษา ค้นคว้าและแก้ไขปัญหาได้
      • เป็นผู้มีศักยภาพในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ
      • เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำความรู้ ความสามารถไปประกอบอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ