หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตร 2561)

โครงสร้างหลักสูตร
๑. หมวดวิชาบังคับ ๑๔ หน่วยกิต
๒. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต
๓. วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

๑. ปรัชญาของหลักสูตร

แผนการศึกษา
ปีที่ ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖) วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ ๒ (๒-๐-๔) วิชาเลือก ๑๐ หน่วยกิต
วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ ๒ (๒-๐-๔)
วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วทคม ๕๖๕ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ๒ (๐-๖-๒)
รวม ๑๒ หน่วยกิต รวม ๑๒ หน่วยกิต
วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐) วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
รวม ๖ หน่วยกิต รวม ๖ หน่วยกิต

หลักสูตรมุ่งที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มีทักษะในการทำวิจัย สามารถประยุกต์ความรู้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

๒. EXPECTED LEARNING OUTCOMES (ELOS)

ELO 1 อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติและกระบวนการแปรรูปของพอลิเมอร์ทั้งด้านเคมีและกายภาพ
ELO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการสังเคราะห์ ดัดแปรและแปรรูปพอลิเมอร์
ELO 3 แสดงทักษะปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลและสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการวิจัย
ELO 4 สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

๓. หมวดวิชาบังคับ ๑๔ หน่วยกิต

วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่างๆ กลไก และจลนพลศาสตร์ การควบคุมโครงสร้างโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุล การเกิดพอลิเมอร์ร่วม วิธีการเตรียมพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาเคมีของพอลิเมอร์  การเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ และการป้องกัน  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ ทฤษฎีและสมบัติของสารละลายพอลิเมอร์ สมดุล วัฏภาค แผนภาพวัฏภาค และการประยุกต์

วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

เทคนิคโดยทั่วไปของการวิเคราะห์โครงสร้างและลักษณะเฉพาะของวัสดุพอลิเมอร์ การตรวจลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างระดับโมเลกุล การทดสอบการละลาย ลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ การวิเคราะห์ทางเคมี เทคนิคทางสเปกโตรสโคปี การตรวจลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ตามขนาดโมเลกุล การจัดเรียงโครงสร้างระดับโมเลกุล ลักษณะพื้นผิวและวิธีเฉพาะทางอื่นๆ สำหรับพอลิเมอร์ใหม่

วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

นิยามของวิทยากระแส  ชนิดของการเปลี่ยนขนาดและรูปร่าง พฤติกรรมการไหลแบบนิวโตเนียน และนอนนิวโตเนียน สมบัติหยุ่นหนืด การวัดสมบัติการไหล การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบแกว่ง การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบสม่ำเสมอ การวิเคราะห์ตัวอย่างผลการทดสอบสมบัติการไหล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผสมและแปรรูปผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์

วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

โครงสร้างโมเลกุลของพอลิเมอร์ การจัดตัวของโมเลกุลพอลิเมอร์ในสถานะของแข็ง  โครงสร้างผลึก โครงสร้างสัณฐานพอลิเมอร์และรูปร่างต่างๆ ของผลึกพอลิเมอร์ การเกิดผลึก และการหลอมเหลวของพอลิเมอร์ โครงสร้างเรียงตัว สมบัติหยุ่นหนืด การคืบ การผ่อนคลายความเค้นและสมบัติพลวัต  อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะของพอลิเมอร์ ความสมมูลของเวลาและอุณหภูมิ สมบัติเชิงกล สมบัติเชิงกลทั่วไปของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการเปลี่ยนรูปและขนาดของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการแตกหักของพอลิเมอร์ ความแข็งแรงของพอลิเมอร์

วทคม ๕๖๕ เทคนิคในวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

การทำให้สารมอนอเมอร์มีความบริสุทธิ์ การสังเคราะห์สารพอลิเมอร์ด้วยกลไกแบบอนุมูลอิสระโดยกระบวนการแบบบัลค์และแบบอิมัลชัน การหาน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องเจลเพอร์มิเอชันโครมาโทรกราฟี การวิเคราะห์ทางความร้อนโดยใช้เครื่องเทอร์มอลกราวิเมตริกแอนนาไลซิส และเครื่องดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอรีมิเตอร์ การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี การศึกษาสภาพพื้นผิวของพอลิเมอร์โดยใช้เทคนิคอะตอมมิกฟอร์ซไมโครสโคปี การทดสอบสมบัติเชิงกลด้วยเทคนิคนาโนอินเดนเตชันและการทดสอบแรงดึง การศึกษาการกัดกร่อนของสารพอลิเมอร์

วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑ (๒ หน่วยกิต)

จริยธรรมสำหรับนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ กระบวนการใหม่ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ เทคนิคการวิเคราะห์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัด การดัดแปรพอลิเมอร์แบบใหม่ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีสมบัติพิเศษ พอลิเมอร์ที่ไวต่อการกระตุ้น พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารเติมแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารชนิดใหม่ช่วยกระบวนการผสมและการแปรรูป

 

๑. ปรัชญาของหลักสูตร

แผนการศึกษา
ปีที่ภาคการศึกษาที่ ๑ภาคการศึกษาที่ ๒
วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์๓ (๓-๐-๖)วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑๒ (๒-๐-๔)
 วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์๒ (๒-๐-๔)วิชาเลือก๑๐ หน่วยกิต
 วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์๒ (๒-๐-๔)  
 วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์๓ (๓-๐-๖)  
 วทคม ๕๖๕ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์๒ (๐-๖-๒)  
 รวม๑๒ หน่วยกิตรวม๑๒ หน่วยกิต
 ๒วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์๖ (๐-๑๘-๐)วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์๖ (๐-๑๘-๐)
 รวม๖ หน่วยกิตรวม๖ หน่วยกิต

หลักสูตรมุ่งที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มีทักษะในการทำวิจัย สามารถประยุกต์ความรู้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

๒. EXPECTED LEARNING OUTCOMES (ELOS)

ELO 1 อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติและกระบวนการแปรรูปของพอลิเมอร์ทั้งด้านเคมีและกายภาพ
ELO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการสังเคราะห์ ดัดแปรและแปรรูปพอลิเมอร์
ELO 3 แสดงทักษะปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลและสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการวิจัย
ELO 4 สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

๓. หมวดวิชาบังคับ ๑๔ หน่วยกิต

วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่างๆ กลไก และจลนพลศาสตร์ การควบคุมโครงสร้างโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุล การเกิดพอลิเมอร์ร่วม วิธีการเตรียมพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาเคมีของพอลิเมอร์  การเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ และการป้องกัน  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ ทฤษฎีและสมบัติของสารละลายพอลิเมอร์ สมดุล วัฏภาค แผนภาพวัฏภาค และการประยุกต์

วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

เทคนิคโดยทั่วไปของการวิเคราะห์โครงสร้างและลักษณะเฉพาะของวัสดุพอลิเมอร์ การตรวจลักษณะเฉพาะทางโครงสร้างระดับโมเลกุล การทดสอบการละลาย ลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ การวิเคราะห์ทางเคมี เทคนิคทางสเปกโตรสโคปี การตรวจลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ตามขนาดโมเลกุล การจัดเรียงโครงสร้างระดับโมเลกุล ลักษณะพื้นผิวและวิธีเฉพาะทางอื่นๆ สำหรับพอลิเมอร์ใหม่

วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

นิยามของวิทยากระแส  ชนิดของการเปลี่ยนขนาดและรูปร่าง พฤติกรรมการไหลแบบนิวโตเนียน และนอนนิวโตเนียน สมบัติหยุ่นหนืด การวัดสมบัติการไหล การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบแกว่ง การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบสม่ำเสมอ การวิเคราะห์ตัวอย่างผลการทดสอบสมบัติการไหล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผสมและแปรรูปผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์

วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

โครงสร้างโมเลกุลของพอลิเมอร์ การจัดตัวของโมเลกุลพอลิเมอร์ในสถานะของแข็ง  โครงสร้างผลึก โครงสร้างสัณฐานพอลิเมอร์และรูปร่างต่างๆ ของผลึกพอลิเมอร์ การเกิดผลึก และการหลอมเหลวของพอลิเมอร์ โครงสร้างเรียงตัว สมบัติหยุ่นหนืด การคืบ การผ่อนคลายความเค้นและสมบัติพลวัต  อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะของพอลิเมอร์ ความสมมูลของเวลาและอุณหภูมิ สมบัติเชิงกล สมบัติเชิงกลทั่วไปของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการเปลี่ยนรูปและขนาดของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการแตกหักของพอลิเมอร์ ความแข็งแรงของพอลิเมอร์

วทคม ๕๖๕ เทคนิคในวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

การทำให้สารมอนอเมอร์มีความบริสุทธิ์ การสังเคราะห์สารพอลิเมอร์ด้วยกลไกแบบอนุมูลอิสระโดยกระบวนการแบบบัลค์และแบบอิมัลชัน การหาน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องเจลเพอร์มิเอชันโครมาโทรกราฟี การวิเคราะห์ทางความร้อนโดยใช้เครื่องเทอร์มอลกราวิเมตริกแอนนาไลซิส และเครื่องดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอรีมิเตอร์ การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี การศึกษาสภาพพื้นผิวของพอลิเมอร์โดยใช้เทคนิคอะตอมมิกฟอร์ซไมโครสโคปี การทดสอบสมบัติเชิงกลด้วยเทคนิคนาโนอินเดนเตชันและการทดสอบแรงดึง การศึกษาการกัดกร่อนของสารพอลิเมอร์

วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑ (๒ หน่วยกิต)

จริยธรรมสำหรับนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ กระบวนการใหม่ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ เทคนิคการวิเคราะห์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัด การดัดแปรพอลิเมอร์แบบใหม่ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีสมบัติพิเศษ พอลิเมอร์ที่ไวต่อการกระตุ้น พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารเติมแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารชนิดใหม่ช่วยกระบวนการผสมและการแปรรูป

 

๔. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต

วทคม ๕๒๖ การดัดแปรพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

การดัดแปรพอลิเมอร์ด้วยวิธีทางเคมีและทางกายภาพ การผสมพอลิเมอร์ที่เป็นเนื้อเดียวกัน และการผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ระบบพอลิเมอร์ผสมกับสารตัวเติมและสารเติมแต่ง สารที่ใช้ในการปรับสภาพที่ผิว พอลิเมอร์คอมโพสิทและระบบพอลิเมอร์กับสารเสริมแรง เส้นใยความแข็งแรงสูง

วทคม ๕๒๗ พอลิเมอร์คอลลอยด์ (๒ หน่วยกิต)

ที่มาและความสำคัญของพอลิเมอร์คอลลอยด์และลาเทกซ์ยางธรรมชาติ การสังเคราะห์พอลิเมอร์คอลลอยด์ กลไกของอิมัลชันพอลิเมอร์ไรซ์เซชันและพอลิเมอร์ไรซ์เซชันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ลาเทกซ์ที่มีลักษณะเฉพาะ สมบัติของพอลิเมอร์คอลลอยด์ เสถียรภาพและสมบัติการไหล การตรวจลักษณะเฉพาะของอนุภาคคอลลอยด์ การปรับแต่งและการประยุกต์ใช้พอลิเมอร์คอลลอยด์

วทคม ๕๕๐ วิทยา่ศาสตร์และเทคโนโลยียาง (๒ หน่วยกิต)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง การเสริมแรงยาง การผสมยาง การวัลคาไนซ์ยาง ยางผสม ความแข็งแรงและสมบัติเชิงพลวัตของยาง สารช่วยการแปรรูปยาง

วทคม ๕๙๗ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ขั้นสูง (๒ หน่วยกิต)

การผสมและการคอมพาวนด์พอลิเมอร์ กลไกการผสม เครื่องผสม หน้าที่ของเครื่องผสม เครื่องอัดรีดสกรูเดี่ยวและสกรูคู่ กระบวนการขึ้นรูปที่เกี่ยวข้องกับการอัดรีด การเป่าฟิล์ม การฉีดหล่อ การเป่าหล่อและการอัดหล่อ ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการแปรรูป โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ที่มีการพัฒนาใหม่

วทคม ๕๙๘ วัสดุนาโน (๒ หน่วยกิต)

สมบัติเฉพาะตัวของวัสดุนาโน แนวคิดพื้นฐานในการสร้างวัสดุนาโน วัสดุฟิล์มนาโน วัสดุไฟเบอร์นาโน วัสดุนาโนคาร์บอน วัสดุนาโนคอมโพสิต การตรวจลักษณะเฉพาะของวัสดุนาโน การประยุกต์ใช้วัสดุนาโน ประเด็นความปลอดภัยของวัสดุนาโน

วทคม ๖๓๕ พอลิเมอร์ผสมและคอมโพสิท (๓ หน่วยกิต)

อุณหพลศาสตร์ของความเข้ากันได้ของพอลิเมอร์ กระบวนการแยกวัฏภาค ชนิดและความสำคัญของผิวระหว่างวัฏภาคของพอลิเมอร์ สัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ผสม การดัดแปรผิวระหว่างวัฏภาค ชนิดของพอลิเมอร์คอมโพสิทและการขึ้นรูป สมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นเมทริกซ์และวัสดุเสริมแรง การยึดติดระหว่างพอลิเมอร์และเส้นใย กลศาสตร์ของการเสริมแรงของพอลิเมอร์คอมโพสิท การหาค่าความแข็งแรงของผิวระหว่างวัฏภาคของพอลิเมอร์คอมโพสิท

วทคม ๖๓๗ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้ำยางธรรมชาติ (๒ หน่วยกิต)

บทนำเกี่ยวกับยางธรรมชาติ องค์ประกอบของน้ำยางธรรมชาติ ชีวสังเคราะห์ของน้ำยางธรรมชาติ  สมบัติที่โดดเด่นของยางธรรมชาติ ลักษณะเฉพาะของน้ำยางธรรมชาติ โครงสร้างระดับจุลภาคของยางธรรมชาติ หมู่ฟังก์ชั่นในโมเลกุลยางธรรมชาติ การเกิดเจลและโครงสร้างแบบร่างแหในยางธรรมชาติ เสถียรภาพทางคอลลอยด์ของน้ำยางธรรมชาติ กระบวนการทำให้น้ำยางข้นและกระบวนการจุ่มน้ำยางธรรมชาติ การทดสอบเฉพาะของน้ำยาง การดัดแปรทางเคมีของน้ำยางธรรมชาติและการประยุกต์ งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีน้ำยางธรรมชาติ

วทคม ๖๓๙ พอลิเมอร์ชีวภาพ (๒ หน่วยกิต)

บทนำเกี่ยวกับพอลิเมอร์ชีวภาพ ความเป็นมา และความสำคัญ ความหมายและประเภทของพอลิเมอร์ชีวภาพ โครงสร้างทางเคมีและระบบโครงสร้างของโมเลกุลของพอลิเมอร์ชีวภาพ การดัดแปรพอลิเมอร์ชีวภาพให้ได้สมบัติและรูปร่างที่แตกต่างกัน วัสดุที่มีฐานมาจากพอลิเมอร์ชีวภาพ การประยุกต์พอลิเมอร์ชีวภาพเพื่อการใช้งานในด้านต่างๆ

 

๕. วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ (๑๒ หน่วยกิต)

การกำหนดโครงการวิจัย การเสนอเค้าโครงวิจัย การศึกษาวิจัยอย่างมีจริยธรรม การคัดกรองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์และวิพากษ์ผลการวิจัย การนำผลการวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเรียบเรียงผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการอย่างมีจริยธรรม


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตร 2555)


โครงสร้างหลักสูตร
๑. หมวดวิชาบังคับ๑๖ หน่วยกิต
๒. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า๘ หน่วยกิต
๓. วิทยานิพนธ์๑๒ หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า๓๖ หน่วยกิต
แผนการศึกษา
ปีที่ภาคการศึกษาที่ ๑ภาคการศึกษาที่ ๒
วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์๓ (๓-๐-๖)วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑๒ (๒-๐-๔)
 วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์๑ (๑-๐-๒)วทคร ๕๑๖ ชีวสถิติ๓ (๓-๐-๖)
 วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์๒ (๒-๐-๔) วิชาเลือก ๘ หน่วยกิต
 วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์๓ (๓-๐-๖)  
 วทคม ๕๖๕ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์๒ (๐-๖-๒)  
 รวม๑๑ หน่วยกิตรวม๑๓ หน่วยกิต
 ๒วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์๑๒ (๐-๓๖-๐)วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์๑๒ (๐-๓๖-๐)
 รวม๑๒ หน่วยกิตรวม๑๒ หน่วยกิต

๑. ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ มีทักษะในการทำวิจัย สามารถประยุกต์ความรู้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้นำทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

๒. EXPECTED LEARNING OUTCOMES (ELOS)

ELO 1 อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติและกระบวนการแปรรูปของพอลิเมอร์ทั้งด้านเคมีและกายภาพ
ELO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการสังเคราะห์ ดัดแปรและแปรรูปพอลิเมอร์
ELO 3 แสดงทักษะปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลและสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการวิจัย
ELO 4 สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

๓. หมวดวิชาบังคับ ๑๖ หน่วยกิต

วทคม ๕๒๓ เคมีพอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบต่างๆ กลไก จลนพลศาสตร์ การควบคุมโครงสร้างโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุล การเกิดพอลิเมอร์ร่วม วิธีการเตรียมพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาเคมีของพอลิเมอร์  การเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ และการป้องกัน  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ สารละลายพอลิเมอร์ ทฤษฎีและสมบัติ สมดุลวัฏภาค แผนภาพวัฏภาค และการประยุกต์

วทคม ๕๒๔ การตรวจลักษณะพอลิเมอร์ (๑ หน่วยกิต)

ภาพรวมเทคนิคโดยทั่วไปของการวิเคราะห์โครงสร้างและลักษณะเฉพาะของวัสดุพอลิเมอร์ การวิเคราะห์โครงสร้างระดับโมเลกุล การทดสอบการละลาย ลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ การวิเคราะห์ทางเคมี เทคนิคทางสเปกโตรสโคปี การวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของพอลิเมอร์ตามขนาดโมเลกุล ตามการจัดเรียงโครงสร้างระดับโมเลกุล ตามลักษณะพื้นผิวและเทคนิคเฉพาะทางสำหรับการวิเคราะห์พอลิเมอร์พิเศษ

วทคม ๕๙๖ วิทยากระแสและกระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

นิยามของวิทยากระแส  ชนิดของการเปลี่ยนขนาดและรูปร่าง พฤติกรรมการไหลแบบนิวโตเนียน และนอนนิวโตเนียน สมบัติหยุ่นหนืด การวัดสมบัติการไหล การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบแกว่ง การไหลภายใต้แรงเฉือนแบบสม่ำเสมอ การวิเคราะห์ตัวอย่างผลการทดสอบสมบัติการไหล ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผสมและแปรรูปผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์

วทคม ๕๔๓ ฟิสิกส์พอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

โครงสร้างโมเลกุลของพอลิเมอร์ การจัดตัวของโมเลกุลพอลิเมอร์ในสถานะของแข็ง  โครงสร้างผลึก โครงสร้างสัณฐานพอลิเมอร์ รูปร่างต่างๆ ของผลึกพอลิเมอร์ การเกิดผลึก และการหลอมเหลวของพอลิเมอร์ โครงสร้างเรียงตัว สมบัติหยุ่นหนืด การคืบ การผ่อนคลายความเค้นและสมบัติพลวัต  อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะของพอลิเมอร์ ความสมมูลของเวลาและอุณหภูมิ สมบัติเชิงกล สมบัติเชิงกลทั่วไปของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการเปลี่ยนรูปและขนาดของพอลิเมอร์ พฤติกรรมการแตกหักของพอลิเมอร์ ความแข็งแรงของพอลิเมอร์ 

วทคม ๕๖๕ เทคนิคในวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ (๒ หน่วยกิต)

การทำให้สารมอนอเมอร์มีความบริสุทธิ์ การสังเคราะห์สารพอลิเมอร์ด้วยกลไกแบบอนุมูลอิสระโดยกระบวนการแบบบัลค์และแบบอิมัลชัน การหาน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องเจลเพอร์มิเอชันโครมาโทรกราฟี การวิเคราะห์ปัจจัยทางความร้อนที่มีผลต่อสารพอลิเมอร์โดยใช้เครื่องเทอร์มอลกราวิเมตริกแอนนาไลซิส และเครื่องดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอรีมิเตอร์ การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิเมอร์ด้วยเครื่องฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี ศึกษาสภาพพื้นผิวของพอลิเมอร์โดยใช้เทคนิคอะตอมมิกฟอร์ซไมโครสโคปี การทดสอบสมบัติเชิงกลของสารพอลิเมอร์ด้วยเทคนิคนาโนอินเดนเตชั่นและการทดสอบแรงดึง ศึกษาการกัดกร่อนของสารพอลิเมอร์

วทคม ๕๘๘ สัมมนาพอลิเมอร์ ๑ (๒ หน่วยกิต)

กระบวนการใหม่ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ เทคนิคการวิเคราะห์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัด การดัดแปรพอลิเมอร์แบบใหม่ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีสมบัติพิเศษ พอลิเมอร์ที่ไวต่อการกระตุ้น การเตรียมหรือผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารเติมแต่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารชนิดใหม่ช่วยกระบวนการผสมและการแปรรูป คุณธรรมและจริยธรรมในการสืบค้นและการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ 

วทคร ๕๑๖ ชีวสถิติ (๓ หน่วยกิต)

ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงชีวสถิติ หลักการทางสถิติเพื่อประยุกต์ในการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง การแจกแจงความน่าจะเป็น การประมาณค่า การทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบด้วยไคกำลังสองและการวิเคราะห์ความถี่ การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว การวิเคราะห์การเบี่ยงเบนของเส้นโค้งปรกติ สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติ

 ๔. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๘ หน่วยกิต
วทคม ๕๒๖ การดัดแปรพอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

การดัดแปรพอลิเมอร์ด้วยวิธีทางเคมีและทางกายภาพ การผสมพอลิเมอร์ที่เป็นเนื้อเดียวกัน และการผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ระบบพอลิเมอร์ผสมกับสารตัวเติมและสารเติมแต่ง สารที่ใช้ในการปรับสภาพที่ผิว พอลิเมอร์คอมโพสิทและระบบพอลิเมอร์กับสารเสริมแรง เส้นใยความแข็งแรงสูง 

วทคม ๕๒๗ พอลิเมอร์คอลลอยด์ (๒ หน่วยกิต)

ที่มาและความสำคัญของพอลิเมอร์คอลลอยด์และลาเทกซ์ยางธรรมชาติ การสังเคราะห์พอลิเมอร์คอลลอยด์ (กลไกของอิมัลชันพอลิเมอร์ไรซ์เซชันและพอลิเมอร์ไรซ์เซชันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) และลาเทกซ์ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่น อนุภาคแม่เหล็ก อนุภาคกลวง) สมบัติของพอลิเมอร์คอลลอยด์ (ความเสถียร และพฤติกรรมการไหล) การตรวจสอบลักษณะของอนุภาคคอลลอยด์ การปรับแต่งและการประยุกต์ใช้พอลิเมอร์คอลลอยด์ 

วทคม ๕๙๗ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ขั้นสูง (๓ ;หน่วยกิต)

การผสมและการคอมพาวนด์พอลิเมอร์ กลไกการผสม เครื่องผสม หน้าที่ของเครื่องผสม เครื่องอัดรีดสกรูเดี่ยวและสกรูคู่ กระบวนการขึ้นรูปที่เกี่ยวข้องกับการอัดรีด การเป่าฟิล์ม การฉีดหล่อ การเป่าหล่อและการอัดหล่อ ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการแปรรูป โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ที่มีการพัฒนาใหม่ 

วทคม ๕๙๘ วัสดุนาโน (๓ หน่วยกิต)

สมบัติเฉพาะตัวของวัสดุนาโน แนวคิดพื้นฐานในการสร้างวัสดุนาโน วัสดุฟิล์มนาโน วัสดุไฟเบอร์นาโน วัสดุนาโนคาร์บอน วัสดุนาโนคอมโพสิต การพิสูจน์อัตลักษณ์วัสดุนาโน การประยุกต์ใช้วัสดุนาโน ประเด็นความปลอดภัยของวัสดุนาโน

วทคม ๖๓๔ ผิวพอลิเมอร์ (๓ หน่วยกิต)

>

พื้นฐานทางเคมีและฟิสิกส์เชิงพื้นผิว การยึดติดและกาว ความเสียดทานและการสึกกร่อน การเคลือบผิว สมบัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมบัติเชิงพื้นผิวของพอลิเมอร์ สมบัติการขวางกั้น ความเข้ากันได้ทางชีวภาพ การดัดแปรผิวของพอลิเมอร์ วิธีตรวจลักษณะของพื้นผิวเชิงปริมาณและคุณภาพ

วทคม ๖๓๕ พอลิเมอร์ผสมและคอมโพสิท (๓ หน่วยกิต)

อุณหพลศาสตร์ของความเข้ากันได้ของพอลิเมอร์ กระบวนการแยกวัฏภาค ชนิดและความสำคัญของผิวระหว่างวัฏภาคของพอลิเมอร์ สัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ผสม การดัดแปรผิวระหว่างวัฏภาค เทคนิคสำหรับตรวจลักษณะเฉพาะของผิวระหว่างวัฏภาคของพอลิเมอร์ วิทยากระแสของพอลิเมอร์ผสม ชนิดของพอลิเมอร์คอมโพสิทและการขึ้นรูป สมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นเมทริกซ์และสารเสริมแรงต่างๆ การยึดติดระหว่างพอลิเมอร์และเส้นใย กลศาสตร์ของการเสริมแรงของพอลิเมอร์คอมโพสิท การหาค่าความแข็งแรงของผิวระหว่างวัฏภาคของพอลิเมอร์คอมโพสิท

๕. วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต

วทคม ๖๙๘ วิทยานิพนธ์ (๑๒ หน่วยกิต)

การออกแบบและกำหนดโครงการวิจัย การเสนอเค้าโครงวิจัย การศึกษาวิจัยอย่างมีจริยธรรม การคัดกรองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์และวิพากษ์ผลการวิจัย การนำผลการวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเรียบเรียงผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัย